โรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดในผู้สูงอายุ ส่งผลต่อความจำ การคิดวิเคราะห์ และการใช้ชีวิตประจำวัน อาการจะค่อยๆ รุนแรงขึ้นจนกระทบการดูแลตัวเอง
บทความนี้จะพาไปรู้จักโรคอัลไซเมอร์ในแง่มุมต่าง ๆ ทั้งสาเหตุ อาการ และตอบข้อสงสัยของคุณค่ะ
โรคอัลไชเมอร์ (Alzheimer's disease) คือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับสมอง มันทำให้เซลล์ประสาทสมองตายไปเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือความสามารถในการจดจำและการคิดอย่างเน้นเหตุผลลดน้อยลง ผู้ที่เริ่มมีอาการควรเข้ารับการตรวจอัลไซเมอร์
|
อัลไซเมอร์เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการสมองเสื่อมโดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วน
เป็นแล้วไม่หาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง แยกถูกผิดไม่ได้ มีปัญหาการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด
อายุ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด โดยอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมองและเซลล์ประสาท
พันธุกรรม ผู้ที่มียีนผิดปกติบางชนิดจะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์
โรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
ระยะต้น อาการมีเพียงเล็กน้อย เช่น เริ่มมีอาการหลงลืม เสียความจำระยะสั้น ลืมสถานที่ที่คุ้นเคย แต่สุดท้ายอาจจะนึกออกได้
ระยะกลาง อาการเริ่มปรากฏชัดเจนขึ้น เริ่มหลงลืมเหตุการณ์ที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมา หลงลืมชื่อคน จำทางกลับบ้านไม่ถูก มีปัญหาด้านการสื่อสารกับคนรอบข้าง ต้องการผู้ดูแล มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เช่นหนีออกจากบ้าน ถามคำถามเดิมซ้ำๆ
ระยะท้าย ผู้ป่วยอาจเริ่มมีภาวะพึ่งพิงโดยสมบูรณ์ บกพร่องในการรู้คิดชัดเจนมากขึ้น อาการในระยะนี้คือ ไม่ทราบและไม่สนใจเวลาและสถานที่ จำชื่อคนใกล้ตัวไม่ได้ พฤติกรรมเปลี่ยนชัดเจน เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่รู้อารมณ์และความรู้สึกของคู่สนทนา เป็นต้น
ประสบการณ์การตรวจอัลไซเมอร์ของแพทย์
หมอเคยตรวจผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม โดยผู้ป่วยมารับยาโรคประจำตัวความดันโลหิตสูงตามนัด แต่ญาติได้ให้ประวัติเพิ่มเติมว่าช่วงนี้ผู้ป่วยมีอาการหลงๆลืมๆ ถามคำถามซ้ำๆ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ซักประวัติเพิ่มเติมทราบว่าในช่วงหลายเดือนมานี้ ญาติสังเกตอาการหลงลืมของผู้ป่วยเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่เมื่อก่อนไม่มีอาการแบบนี้
หมอเลยทำการตรวจเกี่ยวกับระบบประสาทและให้ผู้ป่วยทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการคัดกรองโรคสมองเสื่อมพบว่ามีความเสี่ยง จึงส่งต่อผู้ป่วยไปพบแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรมระบบประสาท สุดท้ายผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ จึงทำให้ได้รับการรักษาทันจนอาการดีขึ้นในที่สุด
- แพทย์หญิงนลพรรณ พิทักษ์สาลี - แพทย์ประจำอินทัชเมดิแคร์คลินิก
สมองเสื่อม เป็นอาการเสื่อมของสมองที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หรือการติดเชื้อ
อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม โดยเริ่มจากหลงลืมและพัฒนาจนกระทบชีวิตประจำวัน
โรคอัลไซเมอร์ ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองอย่างถาวร แต่การรักษาในปัจจุบันมุ่งเน้นที่การชะลอการเสื่อมของสมอง และ จัดการอาการ ดูแลด้านจิตใจและพฤติกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำแนะนำ : หากพบอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นอัลไซเมอร์ เช่น ลืมบ่อยหรือสับสน ควรรีบพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อรับการวินิจฉัยและเริ่มต้นการรักษาให้เร็วที่สุดค่ะ!
โรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่อันตราย เพราะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรงเมื่อโรคลุกลาม
โดยมีอาการที่ค่อยๆ แย่ลงเรื่อยๆ ด้านร่างกาย สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง ต้องพึ่งพาคนดูแลตลอดเวลา ด้านจิตใจ บางคนอาจมีอารมณ์แปรปรวน ก้าวร้าว หรือหวาดระแวง ด้านสังคม โรคนี้ส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบตัว
โรคอัลไซเมอร์มักเริ่มต้นในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนที่อายุน้อยกว่านั้น ซึ่งเรียกว่า อัลไซเมอร์ชนิดเริ่มต้นเร็ว (Early-Onset Alzheimer’s Disease) โดยพบได้ในช่วงอายุประมาณ 40-50 ปี
โรคอัลไซเมอร์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ในบางกรณี แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะต้องเป็นตามเสมอไป เพราะยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น อายุ สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิต
คำแนะนำ : หากมีประวัติครอบครัวที่เป็นอัลไซเมอร์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและแนวทางป้องกันที่เหมาะสมค่ะ!
ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาอัลไซเมอร์ ให้หายขาด แต่มียาที่ช่วยควบคุมอาการต่างๆ ให้น้อยลง เช่น ช่วยเพิ่มสารเคมีในสมองที่ขาดไปเพื่อปรับปรุงความจำและลดอาการพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ทั้งผู้ป่วยและญาติจึงควรเตรียมรับมือกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา
นอกจากการรักษาด้วยยาแพทย์จะใช้วิธีการรักษาร่วมกันระหว่างการให้ความรู้คำแนะนำในการดูแล
เช่น การปรับตัวของญาติในการดูแลผู้ป่วย การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย และการปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยให้การดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างราบรื่นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ!
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย นายอัชวิน ธรรมสุนทร
แก้ไขล่าสุด : 28/11/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com