มะเร็งปากมดลูก ความเจ็บปวดที่ผู้หญิงทั่วโลกต้องเผชิญมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก ในกลุ่มของมะเร็ง และก่ออันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รักษา ในบทความนี้อินทัชเมดิแคร์เลยจะพาสาวๆทุกคน มารู้จัก "มะเร็งปากมดลูก" ให้มากขึ้น โรคนี้คืออะไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง การรักษา และวิธีการป้องกันอย่าง การฉีดวัคซีน HPV หรือ การตรวจคัดกรองโรค ช่วยป้องกันได้หรือไม่
รายละเอียดเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมด
มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer) คือ ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณมดลูก ช่องคลอด และช่องปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และพบอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 50 สำหรับประเทศไทยในแต่ละวันจะมีหญิงไทยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค 18 คน และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้โดยเฉลี่ยต่อวันถึง 6 คน
โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 17 ปี) มีคู่นอนหรือมีสามีหลายคน หรือมีสามีมีคู่นอนหลายคน
มะเร็งปากมดลูกมีต้นตอมาจากการติดเชื้อ Human Papilloma Virus (HPV ,ไวรัสเอชพีวี) โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุในอวัยวะสืบพันธุ์ จึงทำให้เชื้อไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ที่ปากมดลูก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ของปากมดลูก จนกลายเป็นเนื้อเยื่อหรือเซลล์อักเสบเรื้อรังและเป็นมะเร็งในที่สุด
รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
อายุ ส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
มีคู่นอนหลายคน ทำให้มีโอกาสได้รับเชื้อ HPV มากขึ้น
สูบบุหรี่
มีลูกหลายคน
ร่างกายมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV)
ไม่เคยฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก
มีประวัติการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อาการเหล่านี้บอกถึงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์
เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ สวนล้างช่องคลอด หรือตรวจภายใน
เลือดที่ไม่ใช่เลือดจากรอบประจำเดือน ออกทางช่องคลอด
เลือดออกทางช่องคลอด (วัยทอง) หลังจากหมดประจำเดือนไปนานแล้ว
ตกขาวมากขึ้น ตกขาวมีกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน
ปวดท้องน้อย ปวดหน่วงท้องน้อยโดยไม่ทราบสาเหตุ หรืออุ้งเชิงกราน
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
พบแผลหรือก้อนที่บริเวณปากมดลูก
สามารถรู้ได้โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งการตรวจที่ดีควรตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอก่อนที่จะแสดงอาการ เพราะบางครั้งมะเร็งอาจไม่ได้แสดงอาการที่แน่ชัด ซึ่งในระหว่างที่ไม่มีการแสดงอาการ เซลล์ปากมดลูกอาจลุกลามเป็นมะเร็งแล้วนั่นเอง ซึ่งยากต่อการรักษาและอันตรายถึงชีวิต
"การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้รู้เร็วทำให้รับสามารถรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เพื่อรักษาให้หายขาดได้ "
โดยการตรวจคัดกรองที่แนะนำ คือ ตรวจแป็ปสเมียร์, ตินเพร็ป และตรวจหา HPV DNA
อ่านเพิ่มเติม: ตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ในระยะแรก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการรักษาหลัก โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดปากมดลูก มดลูก ส่วนบนของช่องคลอด รวมไปถึงเนื้อเยื่อด้านข้าง และเลาะต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน แต่หากมะเร็งมีขนาดเล็กมากและเป็นระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยอาจจะได้รับการผ่าตัดเพียงปากมดลูกและมดลูก (simple hysterectomy)
สำหรับผู้ป่วยระยะลุกลามเฉพาะที่ (Locally advanced cervical cancer) แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยรังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาหลัก แพทย์จะทำการฉายรังสีไปยังจุดที่ผิดปกติ วิธีการรักษาอีกประเภทคือ การให้รังสีระยะใกล้ (Brachytherapy) โดยแพทย์จะให้แร่ผ่านด้านในช่องคลอดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
เป็นการรักษาในกรณีที่มะเร็งลุกลามมากแล้ว หรือในผู้ที่กลับมาเป็นซ้ำ
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นระยะลุกลามเฉพาะที่ แพทย์จะรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดในปริมาณเล็กน้อยร่วมกับการใช้รังสีรักษา
สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่กระจาย แพทย์มักจะรักษาด้วยวิธีให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก
วัคซีนเป็นวิธีหนึ่งในการที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US. FDA) ให้การรับรองแล้วว่าวัคซีน HPV มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์หลักได้ถึง 100% ถ้าหากได้รับวัคซีนก่อนมีการติดเชื้อ
การฉีดวัคซีนช่วยป้องกันมะเร็งช่องคลอด, มะเร็งปากช่องคลอด, มะเร็งลำคอ และโรคหูดหงอนไก่ ที่อวัยวะเพศ ได้ด้วย
ในปัจจุบันกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนมีการฉีดวัคซีน HPV เพื่อป้องกัน
ตรวจแปปเสมียร์ (Pap Smear) เป็นวิธีการตรวจหาความผิดปกติใน 'ระยะก่อนเป็น' หรือ 'เป็นในระยะที่ยังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า"
ตรวจตินแพร็พ แป๊บ เทสต์ (Thin Prep Pap Test) การตรวจคัดกรองโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว
ตรวจ HPV DNA เป็นการตรวจหาตัวเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็งบริเวณปากมดลูกและผนังช่องคลอด โดยการเก็บเซลล์ที่บริเวณปากมดลูก (จากเซลล์เยื่อบุผิวจากบริเวณปากมดลูก และด้านในช่องคลอด) สามารถหาได้ตั้งแต่ระยะก่อนการเป็น
มีงานวิจัยที่ระบุว่าผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเลยนั้นเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกสูงกว่าคนที่ออกกำลังกายถึง 2.5 เท่าเลย เพราะเมื่อร่างกายไม่แข็งแรงก็มีต้องมีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่า ซึ่งการไม่ออกกำลังกายเลยนั้นสัมพันธ์ถึงการนอนหลับด้วย อาจทำให้หลับยากหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
การพักผ่อนน้อยจะมีผลต่อการฟื้นตัว |
การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เช่น
การสวมถุงยางอนามัย
การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ
ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
การสูบบุหรี่ สามารถทำให้การเกิดรอยโรคของมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้น และยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งที่ปากมดลูก รวมถึงความเสี่ยงมะเร็งชนิดอื่นๆด้วย เช่น มะเร็งปอด มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ และมะเร็งชนิดอื่นๆอีกมากมาย และทำให้ร่างกายของเรามีภูมิคุ้มกันต่ำลง
มะเร็งปากมดลูก น่ากลัวแต่รับมือได้ การฉีดวัคซีนมะเร็งปาดมดลูก และตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอหากตรวจพบก็พร้อมรักษาได้อย่างทันท่วงที แม้ว่าวิธีเหล่านี้จะไม่ได้ช่วยป้องกัน 100% แต่ก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย แล้วรักษาที่ปลายเหตุ
หากสนใจเข้ารับบริการ 'ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก' หรือ 'ฉีดวัคซีน HPV' ที่อินทัชเมดิแคร์ สามารถแอดไลน์แล้วทักแชทหาเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถาม หรือนัดหมายรับบริการได้เลยค่ะ
เอกสารอ้างอิง
ผศ. นพ.ภุชงค์ ลิขิตธนสมบัติ, มะเร็งปากมดลูก
American Society for Colposcopy and Cervical Pathology, Smoking and Cervical Cancer
Global partners cheer progress towards eliminating cervical cancer and underline challenges, World Heath Organization
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 26/06/2024
อนุญาตให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com