ฉีด 'วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี' ลดความเสี่ยงให้ตับของเรา เพราะโรคนี้แฝงมักไม่ปรากฏอาการ เมื่อติดเชื้อแล้วการรักษาหายได้ยาก จนในผู้ป่วยบางรายเป็นโรคเรื้อรังลุกลามเกิดเป็นโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ สร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีน
รวมลิสท์คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัคซีนตับบี เช่น ป้องกันอะไรได้บ้าง ต้องฉีดกี่เข็ม วัคซีนเหมาะกับใคร ต้องกระตุ้นหรือไม่ ฉีด 3 เข็มแล้วภูมิไม่ขึ้นต้องทำยังไง และหัวข้อน่าสนใจอีกมากมาย ถ้าอยากรู้ก็ไปอ่านกันได้เลย
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) คือ วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อตับ โดยเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดตับอักเสบ ซึ่งการติดเชื้อจะมีตั้งแต่อาการป่วยแบบเฉียบพลัน ไปจนถึง
"อาการป่วยตับอักเสบเรื้อรังที่สามารถนำไปสู่ |
แต่หากรับวัคซีนแล้ว ร่างกายจะทำการสร้างสารภูมิต้านทาน (Antibody) ขึ้นมาเพื่อช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัส
ช่วยป้องกันไม่ให้ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ หากฉีด 3 เข็ม จนครบ และฉีดก่อนการสัมผัสโดนเชื้อ
ป้องกันผู้ป่วยจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ โรคตับแข็ง ,มะเร็งตับ และการเสียชีวิต
ในกรณีของคุณแม่ตั้งครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ เพราะโอกาสที่ทารกจะติดเชื้อจากแม่มีความเป็นได้ที่ค่อนข้างสูง
ช่วยป้องกันการรับเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องทำงานที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
ป้องกันการติดเชื้อในผู้ที่มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนที่ทุกคนควรได้รับไม่ว่าจะในเด็กหรือผู้ใหญ่ เพราะวัคซีนตัวนี้อยู่ในแผนวัคซีนของภาครัฐ
เด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 2 เดือน - 18 ปี ควรรับการฉีดตามแผนการฉีดวัคซีนตามช่วงวัยที่ภาครัฐได้กำหนด โดยเฉพาะทารกที่คลอดจากครรภ์มารดาที่เป็นพาะของโรคไวรัสตับอักเสบบี เพราะมีโอกาสติดเชื้อสูง และหากติดเชื้อในเด็กมักจะไม่แสดงอาการ และสามารถกลายเป็นภาวะตับแข็ง ซึ่งสามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งตับต่อได้
ผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยฉีดก็ควรเข้ารับการฉีด โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
ผู้ป่วยโรคไตวายที่ต้องมีการล้างไต (kidney Dialysis Patients)
ผู้ที่เป็นโรคตับ หรือ โรคไตอักเสบเรื้อรัง
ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์
ผู้มีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ทำการป้องกัน เช่น ไม่สวมถุงยางอนามัย
ผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติด
ผู้มีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย, มีคู่นอนหลายคน
ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันกับผู้อื่น
เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ถือเป็นอีกกลุ่มที่เสี่ยงต่อการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง
ผู้ที่อาศัยร่วมกันกับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี เช่น สามี-ภรรยา
ฉีดกรณีที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อนี้สูง โดยแถบที่พบบ่อย เช่น ประเทศในฝั่งเอเชีย, แอฟริกา, อเมริกาใต้ และแคริบเบียน
การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี สามารถเสริมภูมิคุ้มกันได้นานกว่า 20 ปี หรืออาจตลอดชีวิต หากฉีดตั้งแต่ยังเป็นทารก
วัคซีนป้องกันตับไวรัสอักเสบบี ไม่จำเป็นต้องได้รับการฉีดกระตุ้น เนื่องจากสามารถป้องกันได้ในระยะยาว หรืออาจป้องกันเชื้อได้ตลอดชีวิต ถือเป็นการฉีดที่คุ้มค่า
หากในกรณีที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม แล้วภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น เกิดได้จากการที่ร่างกายของผู้ฉีดไม่ตอบสนองต่อวัคซีน อาจมีความจำเป็นต้องได้รับการฉีดเพิ่ม อีก 1 ชุด ( 3 เข็ม) แล้วทำการตรวจหาภูมิคุ้มกันหลังฉีด 1 เดือน
"หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันอีก แนะนำให้ป้องกันโรค |
อ้างอิงข้อมูล: กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ 2564, แนวทางการดำเนินงานให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี (HB) ในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
สามารถพบอาการข้างเคียงหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีได้น้อย และอาการเหล่านี้สามารถหายเองได้ ได้แก่
มีอาการบวมแดง ในบริเวณที่ฉีดวัคซีน
มีไข้สูง 37 ํC หรือสูงกว่า อาการนี้มักจะเกิดขึ้นทันที หลังการฉีดวัคขึ้นและจะมีอาการเพียง 1-2 วัน
รู้สึกหน้ามืด อ่อนเพลีย วิงเวียน ตาพร่ามัว หรือหูอื้อ
มีอาการปวดไหล่
ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ราคา 850 บาท/เข็ม (ฉีดทั้งหมดจำนวน 3 เข็ม)
ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม พร้อมชุดตรวจติดตามภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี ราคา 2,190 บาท
ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี 3 เข็ม พร้อมชุดตรวจไวรัสตับอักเสบบีตรวจหาภูมิคุ้มกัน ราคา 2,580 บาท
เอกสารอ้างอิง
The Immunization Action Coalition, Vaccine Information Statements
Center of Disease Control, Hepatitis B
กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ 2564, แนวทางการดำเนินงานให้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี (HB) ในบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
ความรู้เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 27/06/2024
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com