Last updated: 3 ก.พ. 2568 | 49848 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคหูด บนผิวหนังไม่ก่อให้เกิดอันตรายมากนักแต่ก็ส่งผลในเรื่องของความเชื่อมั่นหรือหากปล่อยไว้ก็อาจลุกลามจนยากแก่การรักษา เพียงได้ยินชื่อก็คงไม่มีใครอยากจะเป็น เรามาดูกันว่า เป็นหูด เกิดจากสาเหตุอะไรและการรักษาหูดอย่างไรได้บ้าง
หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคหูด
หูด (Wart) เป็นก้อนเนื้อเล็กๆ มักมีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ผิวขรุขระ หรือเรียบเนียนขึ้นอยู่กับชนิดของหูด หูดสามารถเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสโดยตรง
หูด เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ที่จะไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาและแข็งตัว ทำให้ผิวหนังเกิดเป็นตุ่มหรือติ่งเนื้อขึ้น สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย โดยที่บางคนอาจจะไม่แสดงอาการ
โรคหูด สามารถเจริญเติบโตได้ดีในส่วนที่อับชื้นของร่างกาย ติดต่อได้จากการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกัน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ด้วย แม้จะไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่ก็อาจส่งผลต่อความมั่นใจและอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ตามมาด้วย
หูดธรรมดา (Common Warts) มักพบที่นิ้วมือ ฝ่ามือ หรือข้อศอก มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ผิวขรุขระ สีเดียวกับผิวหนัง
หูดฝ่าเท้า (Plantar Warts) พบที่บริเวณฝ่าเท้า อาจมีลักษณะแบนจากแรงกดเวลาเดิน บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเส้นเลือดฝอย
หูดแบน (Flat Warts) มักเกิดบนใบหน้า แขน หรือขา มีลักษณะเป็นตุ่มเรียบ ขนาดเล็ก และสีเดียวกับผิวหนัง
หูดหงอนไก่ (Genital Warts) เกิดบริเวณอวัยวะเพศหรือรอบทวารหนัก มีลักษณะเป็นตุ่มเนื้อนุ่ม ผิวขรุขระ คล้ายดอกกะหล่ำ ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์
หูดที่ใต้เล็บหรือรอบเล็บ (Periungual Warts) พบที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า มักอยู่รอบ ๆ หรือใต้เล็บ อาจทำให้เล็บเสียรูปทรง
ลักษณะอาการของหูด ที่พบบ่อยคือ มีติ่งนูนยื่นขึ้นมาบนผิวหนัง ขนาดประมาณ 10 มิลลิเมตร สามารถเกิดได้ทั้งแบบผิวเรียบ สีเดียวกับผิวหนัง หรือแบบขรุขระสีดำ อาจเกิดเป็นเม็ดเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ใบหน้า ลำคอ
ส่วนหูดที่อวัยวะเพศหรือหูดหงอนไก่สามารถพบได้ที่อวัยวะเพศ ขาหนีบ หรือทวารหนัก ซึ่งหากเป็นก้อนใหญ่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้
การใช้ยาทามักเป็นวิธีแรกที่ใช้สำหรับหูดขนาดเล็กหรือไม่รุนแรง โดยทั่วไปใช้ยากัดหูดที่มีกรดซาลิไซลิก (Salicylic acid)
ข้อดี: ทำเองได้ที่บ้าน ราคาถูก
ข้อเสีย: ใช้เวลานาน หูดบางชนิดอาจไม่ตอบสนอง
เป็นการใช้ ไนโตรเจนเหลวที่มีอุณหภูมิ -196°C จี้ลงบนหูดเพื่อทำให้เซลล์ผิวหนังตายและหลุดออกไป
ใช้สำหรับหูดทั่วไป หูดฝ่าเท้า และหูดที่รักษาด้วยยาทาแล้วไม่หาย ต้องทำซ้ำทุก 1-2 สัปดาห์ จนกว่าหูดจะหายไป
ข้อดี: ทำได้เร็ว แผลเล็ก
ข้อเสีย: อาจรู้สึกเจ็บขณะทำ และต้องทำซ้ำหลายครั้ง
เป็นการใช้ กระแสไฟฟ้าความร้อน จี้ที่ตัวหูดเพื่อทำลายเนื้อเยื่อหูดให้หลุดออก มักใช้สำหรับหูดที่มีขนาดใหญ่หรือหูดที่ไม่ตอบสนองต่อวิธีอื่น ทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่เพื่อลดความเจ็บปวด
ข้อดี: กำจัดหูดได้เร็วในครั้งเดียว
ข้อเสีย: อาจเกิดแผลเป็น และอาจต้องพักฟื้น
เป็นการใช้มีดผ่าตัดหรือเครื่องมือพิเศษ ตัดเอาหูดออกโดยตรง มักใช้กับหูดขนาดใหญ่ หรือหูดที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่หาย ใช้สำหรับหูดฝังลึกหรือหูดที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ หรือยาชาเฉพาะจุด
ข้อดี: กำจัดหูดได้ในครั้งเดียว
ข้อเสีย: มีโอกาสเกิดแผลเป็น และหูดอาจกลับมาเป็นใหม่
หูดส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายและมักหายไปเองได้ภายใน 6 เดือน - 2 ปี แต่บางกรณีหูดอาจเป็นปัญหาได้ เช่น
หูดที่เจ็บหรือโตเร็ว โดยเฉพาะหูดฝ่าเท้าหรือหูดรอบเล็บ อาจทำให้เดินลำบากหรือเจ็บมาก
หูดหงอนไก่ (ที่อวัยวะเพศ) เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง ที่อาจเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศ หรือมะเร็งทวารหนัก
หูดที่แพร่กระจายเร็ว หากมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิ หูดอาจลุกลามเร็วขึ้นและรักษายาก
|
ป้องกันการแพร่กระจายเพราะหูดสามารถติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรง ลดอาการเจ็บปวดและความรำคาญ รวมทั้งป้องกันแผลเป็นจากการเกา หากปล่อยให้หูดโต อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นถาวรเมื่อรักษาหาย
และลดความเสี่ยงของมะเร็ง (กรณีหูดหงอนไก่) HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงอาจเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งอวัยวะเพศ หรือมะเร็งทวารหนัก
ห้ามแกะ เกา หรือใช้ของมีคมตัดหูด เพราะอาจทำให้เชื้อแพร่กระจาย
ล้างมือให้สะอาดหลังสัมผัสหูด
ใช้พลาสเตอร์ปิดหูด เพื่อลดการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่สาธารณะ เช่น ห้องน้ำรวม สระว่ายน้ำ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับหูดของผู้อื่น
ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ
สวมรองเท้าในที่สาธารณะ เช่น ห้องน้ำหรือโรงยิม
ใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ HPV ที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่
ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV เพื่อลดความเสี่ยงของหูดหงอนไก่และมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับ HPV
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย : อัชวิน ธรรมสุนทร
อนุญาติให้ใช้งานภาพโดยไม่ต้องขออนุญาต เฉพาะในเชิงให้ความรู้ หรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น โดยต้องให้เครดิตหรือแสดงแหล่งที่มาของ intouchmedicare.com
14 มี.ค. 2565
3 พ.ค. 2565
22 มี.ค. 2565
6 พ.ค. 2565