ตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำก่อนดำน้ำลึก เพื่อให้คุณปลอดภัยและสนุกสนานกับการดำน้ำได้อย่างเต็มที่ เพราะการดำน้ำถือเป็นกิจกรรมที่ผู้ทำกิจกรรมต้องคำนึงถึงสุขภาพของผู้ทำกิจกรรมเป็นหลัก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ใต้น้ำนั้นแตกต่างจากสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปของเรา ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ การหายใจขณะดำน้ำ และบางคนที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้วอาจก่ออันตรายขณะทำกิจกรรมได้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ
เหตุผลที่เราควรตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ โดยหลักๆก็คือเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ทำกิจกรรมเอง รวมไปถึงความปลอดภัยของผู้ร่วมกิจกรรมท่านอื่นๆ ทั้งนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆอีกด้วย ได้แก่
เพื่อตรวจร่างกายให้แน่ใจว่าตนเองสามารถทำกิจกรรมดำน้ำได้หรือไม่ โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติอาการป่วยอย่าง โรคหัวใจ, โรคปอด หรือโรคเบาหวาน ทั้งนี้ยังรวมไปถึงผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน และผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรงด้วย
เพื่อประเมินความเสี่ยงก่อนทำกิจกรรม ที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะดำน้ำ
เพื่อป้องกันอันตรายในผู้ที่มีอาการป่วย ไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์ หรือมีอาการบาดเจ็บอื่นๆ ที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องงดทำกิจกรรมดำน้ำลึกไปก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เกิดอันตราย
"จากสาเหตุที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าการตรวจสุขภาพเพื่อการไปดำน้ำเป็นเรื่องจำเป็น ที่ผู้ดำน้ำลึกจำเป็นต้องทำทุกครั้ง เพื่อช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ขณะดำน้ำลึก เพราะส่วนมากอุบัติเหตุขณะดำน้ำมักเกิดในผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ
เพราะฉะนั้นการตรวจร่างกายก่อนดำน้ำ ถือเป็นทางเลือกที่ดีที่เราสามารถเลือกเองได้ รวมถึงช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ว่าเราควรไปดำน้ำหรือไม่ และยังช่วยลดความตึงเครียดก่อนทำกิจกรรมด้วยค่ะ"
รายการตรวจสุขภาพเพื่อการไปดำน้ำ มีดังนี้
ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ / Physical Examination
ใบรับรองแพทย์ เพื่อการดำน้ำ / Medical certificate
ตรวจตาบอดสี / Color Blind
เอกซเรย์ปอด / Chest X-ray
ตรวจการได้ยิน / Audiogram
ตรวจสมรรถภาพปอด / Pulmonary Function Testing
ตรวจสายตาเบื้องต้น / Visual Acuity Test
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ / EKG
ตรวจปัสสาวะ / Urine Examination
ตรวจความสมบูณ์ของเม็ดเลือด / CBC
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด / Gloucose (FBS)
ตรวจระดับไขมันในเส้นเลือด / Lipid Profile
ตรวจหาโรคเก๊าต์ / Uric acld
ตรวจระดับเอนไซต์ในตับ / SGPT (ALT)
ตรวจระดับเอนไซม์ในตับ / SGOT (AST)
ตรวจระดับเอนไซม์ในตับหรือท่อน้ำดี / ALP
ก่อนที่จะไปดำน้ำลึก สิ่งที่ตัวผู้ดำน้ำจำเป็นต้องมีทักษะในการดำน้ำ โดยต้องไปเรียนกับ ผู้ฝึกสอนนักดำน้ำ (Dive Instructor) ในสถาบันสอนดำน้ำที่มีการรับรองมาตรฐานสากล ซึ่งจะมีหลายสถาบันด้วยกัน เช่น PADI, NAUI, SSI, RAID, SDI/TDI และ CMAS IDEA, NASDS เป็นต้น
การเรียนหลักสูตรดำน้ำจากสถาบันเหล่านี้สามารถออกบัตรดำน้ำ แต่ที่เป็นที่นิยมจะเป็นหลักสูตรของ PADI และ NAUI ซึ่งเป็นสถาบันที่ออกบัตรดำน้ำที่สามารถใช้ได้ทั่วโลก และก่อนเรียนคอร์สดำน้ำก็อย่าลืมตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำ เพราะบางสถาบันที่สอนดำน้ำจะมีให้ระบุไว้ด้วยว่าตัวของเราไม่ได้มีอาการป่วยหรือโรคที่เป็นอุปสรรคในการดำน้ำด้วยนะคะ
เพื่อให้แน่ใจว่าการดำน้ำจะเป็นไปอย่างราบรื่น ควรตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำโดยหากใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคประจำตัวที่ร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นโรคในกลุ่มของหลอดเลือดและหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหืด โรคลมชัก โรคทางหูและการได้ยิน โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรควิตกกังวลรุนแรงหรือโรคซึมเศร้า เป็นต้น
ผู้ดำน้ำจึงควรเลือกตรวจสุขภาพก่อนดำน้ำที่มีการตรวจที่ละเอียด ครอบคลุม หากตรวจร่างกายแล้วแพทย์ว่าสามารถดำน้ำได้จึงค่อยทำกิจกรรม ส่วนในกรณีที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ควรงดกิจกรรมดำน้ำไปก่อน
ก่อนที่จะดำน้ำ ตัวของผู้ดำน้ำเองก็ควรมีสกิลในทางน้ำเบื้องต้น เช่น มีความสามารถในการว่ายน้ำพื้นฐาน ไม่ได้มีอาการกลัวหรือตื่นตระหนกเมื่อลงน้ำเพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ และผู้ดำน้ำควรฝึกเพื่อให้สามารถหายใจเข้าปากออกปากได้เพื่อความสะดวกในการดำน้ำ
เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม
ตัวผู้ดำน้ำควรตรวจร่างกาย และเตรียยมร่างกายให้พร้อมเพื่อให้สามารถทรงตัวได้ เพราะชุดและอุปกรณ์ดำน้ำจะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากถึง 15 กิโลกรัมเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นจึงควรวอร์มร่างกายมาพอสมควร เพื่อให้เป็นอุปสรรคระหว่างการดำน้ำ และระหว่างทำกิจกรรมก็อย่าเพลิดเพลินจนลืมสติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นได้
ข้อนี้ก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้ข้ออื่น โดยอุปกรณ์สำหรับดำน้ำลึกที่เราสามารถเตรียมเองได้มีดังนี้
ตีนกบ (Fins)
หน้ากากดำน้ำ (Mask)
เวทสูทดำน้ำลึก (Wetsuit)
ส่วนอุปกรณ์ดำน้ำอื่นๆจะแนะนำให้เช่าแทน เพราะราคาค่อนข้างแพง หากไม่ได้ใช้บ่อยอาจไม่จำเป็นต้องซื้อ เช่น เสื้อ BCD, เสื้อชูชีพ สำหรับใส่เพื่อการลอยตัวใต้น้ำและบนผิวน้ำ ,ชุดหายใจ (Regulator), ถังอากาศ (SCBA), นาฬิกาดำน้ำ (Dive Com) เป็นต้น และที่สำคัญก่อนใช้อย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ว่ามีอาการผิดปกติหรือชำรุดหรือไม่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในระหว่างดำน้ำ
ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย
ผู้ที่เพิ่งรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่
ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคหืด โรคลมชัก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับหูและการได้ยิน เป็นต้น
ผู้มีดัชนีมวลกายที่มากกว่ามาตรฐาน คำนวณดัชนีมวลกาย
ผู้ที่ร่างกายมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว หรือมีความบกพร่องทางร่างกาย
ผู้ที่เพิ่งหายจากการเจ็บป่วยหรือการผ่าตัด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดำน้ำ
เอกสารอ้างอิง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 23/05/2024