เอกสารที่จำเป็นสำหรับคนเรียนว่ายน้ำ หรือสมัครสมาชิกเพื่อใช้งานสระว่ายน้ำสาธารณะ “ใบรับรองแพทย์ สมัครเรียนว่ายน้ำ” หรือ “ใบรับรองแพทย์ ว่ายน้ำ” เอกสารการตรวจร่างกายที่ใช้เพื่อยืนยันว่าร่างกายของคุณแข็งแรง และไม่ป่วยเป็นโรคติดต่อที่สามารถสร้างความเสี่ยงให้ผู้อื่น และ
"เพื่อความปลอดภัยของคุณเองด้วย เพราะหากคุณมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงระหว่างเรียน หรือใช้สระว่ายน้ำได้ด้วย"
หัวข้อเกี่ยวกับใบรับรองแพทย์ สมัครเรียนว่ายน้ำ
ใบรับรองแพทย์ สมัครเรียนว่ายน้ำ คือ ใบรับรองแพทย์ ที่ใช้สำหรับการสมัครเรียนว่ายน้ำ หรือสมัครเพื่อเข้าใช้งานสระว่ายน้ำ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสโมสร สระว่ายน้ำ หรือโรงเรียนสอนว่ายน้ำด้วย บางที่ก็จำเป็นต้องใช้ หรือบางที่ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้
"ดังนั้น ตัวผู้เรียนว่ายน้ำเอง หรือผู้ที่การสมัครเข้าใช้บริการสระว่ายน้ำจึงควรสอบถามรายละเอียดให้แน่ชัดก่อน"
ใบรับรองแพทย์ ว่ายน้ำ ส่วนมากมักใช้ในกรณีที่สมัครใช้สระว่ายน้ำสาธารณะ เช่น ศูนย์ฝึกกีฬา, สโมสรว่ายน้ำ, สมัครคลาสเรียนว่ายน้ำแบบเป็นกลุ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสระว่ายน้ำที่ให้บริการ หรือผู้ฝึกสอนว่ายน้ำด้วยว่าจำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์หรือไม่ แต่ส่วนมากจำเป็นต้องตรวจร่างกายและขอใบรับรองแพทย์ เนื่องสระว่ายน้ำมีผู้เข้ามาใช้งานเป็นจำนวนมาก หากผู้ที่มาใช้บริการมีอาการป่วย หรือเป็นโรคที่สามารถติดต่อสามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว
ถ้าให้ยกตัวอย่างที่เห็นชัดๆก็คือ ช่วงสงกรานต์ 13-14 เม.ย.67 ที่ผ่านมา เด็กที่ไปเล่นปาร์ตี้โฟมในงานสงกรานต์ จ.สุพรรณบุรี 65 ราย ได้รับเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งเป็นน้ำที่มาจากประปาวัด ผสมกับน้ำในคลองสวนกล้วย ซึ่งคาดว่าน้ำในคลองสวนกล้วยมีการปนเปื้อน จึงทำให้ผู้เข้าเล่นโฟมได้รับเชื้อโรต้า
'จากเคสนี้จะเห็นได้ว่าสิ่งปนเปื้อนในน้ำ สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการตรวจร่างกายก่อนใช้สระว่ายน้ำจึงถือว่าเป็นเรื่องที่เราสามารถทำเพื่อคนในสังคมได้'
เอกสารสำหรับสมัครเรียนว่ายน้ำนั้น ไม่มีข้อกำหนดที่ตายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสโมสร สระว่ายน้ำที่เข้ารับบริการ โดยเอกสารสำหรับสมัครเรียนว่ายน้ำ หรือสมัครสมาชิกสระว่ายน้ำที่พบได้บ่อยโดยทั่วไป ได้แก่
รูปถ่าย ขนาด 2 นิ้ว
บัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
ใบรับรองแพทย์ สมัครเรียนว่ายน้ำ ออกโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์
รายการตรวจสุขภาพใบรับรองแพทย์ ว่ายน้ำ มีดังนี้
ตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ การซักประวัติของผู้เข้ารับบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ได้แก่ น้ำหนัก, ส่วนสูง, ประวัติการป่วย, ประวัติการแพ้, โรคประจำตัว และซักประวัติโดยเบื้องต้นว่าผู้รับบริการไม่มีแผลหรือฝีหนองภายในร่มผ้า เป็นต้น
การทดสอบสุขภาพอื่นๆ เช่น การตรวจดูลักษณะของผิวหนังภายนอก, ตรวจการได้ยินโดยแพทย์, การตรวจสัญญาณชีพ (Vital signs) การทดสอบการมองเห็นโดยเบื้องต้น การฟังเสียงหัวใจและปอด เป็นต้น
การเอกซเรย์ทรวงอกหรือปอด เป็นรายการตรวจเพื่อดูลักษณะปอด ว่ามี ‘ฝ้าขาว’ เป็นจุดอยู่ภายในเนื้อปอดหรือไม่ หัวใจมีขนาดโตไหม เพื่อช่วยวินิจฉัยเบื้องต้นถึงโรคต่างๆ และเพื่อดูความผิดปกติของโครงสร้างปอด
“หากคนไข้มีการเอกซเรย์ปอด แล้วพบความผิดปกติอาจทำให้เกิดการหายใจลำบาก หรือมีอาการเหนื่อย หายใจไม่สะดวก ขณะที่ว่ายน้ำและออกกำลังกายได้ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากในผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ”
พญ.สุพิชชา บึงจันทร์, แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
หากตรวจร่างกาย หรือสังเกตแล้วพบว่าคุณมีอาการดังต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้สระว่ายน้ำ
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคผิวหนัง โรคที่สามารถติดต่อ หรือแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้
ผู้มีอาการแพ้คลอรีน ควรหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่เป็นคลอรีน แต่สามารถเลือกใช้สระว่ายน้ำระบบเกลือแทนได้
ผู้ที่มีบาดแผลเปิด แผลถลอก หรือแผลตกสะเก็ด
บทความที่น่าสนใจ
เอกสารอ้างอิง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย อินทัชเมดิแคร์คลินิกเวชกรรม
แก้ไขล่าสุด : 24/04/2024