โรคซึมเศร้ากับการฝังยาคุม ยังเป็นข้อสงสัยที่ทำให้สาวๆหลายคนกังวลว่า หากตนเองกำลังเป็นโรคซึมเศร้าว่าจะสามารถฝังยาคุมได้ไหม หรือกำลังอยู่ในช่วงการกินยารักษา จะส่งผลกระทบอะไรร้ายแรงไหม ในบทความนี้อินทัชเมดิแคร์มาตอบข้อสงสัยให้ค่ะ
โรคซึมเศร้า เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ เกิดจากความผิดปกติของระดับสารเคมีในสมอง รวมทั้งสภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต มีอาการหลัก คือ อารมณ์เศร้า ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร
ร่วมกับมีอาการเหล่านี้รวมกันอย่างน้อย 5 อาการ ได้แก่
เบื่ออาหารหรือกินมากเกินไป
หลับยาก หลับๆตื่นๆ หรือหลับมากไป
เก็บตัว แยกตัวออกจากสังคม ขาดความสนใจต่อรอบข้าง
รู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลียตลอดเวลา
รู้สึกตนเองไร้ค่า รู้สึกผิดและโทษตนเองตลอดเวลา
ความคิดช้าลง ความสามารถในการคิดและการตัดสินใจน้อยลง
คิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ หรืออยากทำร้ายตนเอง คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย โดยอาการเหล่านี้เป็นอยู่เกือบทั้งวันติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการซึมเศร้า ไม่มีข้อจำกัดในการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่างๆ เนื่องจากได้มีการติดตามการใช้ยาคุมกำเนิดในผู้ป่วย มาเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิด ก็ไม่พบหลักฐานที่เชื่อมโยงได้ว่ายาคุมทำให้อาการของโรคซึมเศร้าเลวร้ายลง
"ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสามารถใช้ยาคุมกำเนิดได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมที่สุด"แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการซึมเศร้าที่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา จะต้องพิจารณาต่ออีกว่ายาที่รับประทานอยู่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้วยหรือไม่ ดังนั้น ควรเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษาในการช่วยเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมที่สุดต่อไป
อ่านเพิ่มเติม : ยาคุมแบบฝังและยาคุม |
ไม่พบหลักฐานชัดเจนที่บอกว่ายาคุมกำเนิดทำให้เป็นโรคซึมเศร้า เพียงแต่ฮอร์โมนในยาคุมกำเนิดอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ได้ในบางคน
ในทางทฤษฎี การใช้ยาต้านซึมเศร้าบางตัวร่วมกับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อาจส่งผลกระทบต่อกัน เช่น ลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด หรือเพิ่มผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด หรือในทางตรงข้าม อาจทำให้ระดับต้านซึมเศร้าตัวนั้นเพิ่มสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่ชี้ชัดเจนว่าจะเกิดปัญหาขึ้นจริงตามนั้น
และแม้จะมีข้อมูลไม่มาก แต่เท่าที่มีการศึกษาทางคลินิกก็ไม่พบว่าการใช้ยาต้านโรคซึมเศร้า จะมีผลลดประสิทธิภาพของวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ร่วมกัน อีกทั้งไม่พบความแตกต่างของประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการรักษา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ใช้ยาต้านซึมเศร้าแต่ไม่ได้คุมกำเนิดใด ๆ
ยังไม่มีข้อห้ามชัดเจนที่ห้ามไม่ให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฝังยาคุมกำเนิด เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่บ่งบอกว่ายาฝังคุมกำเนิดส่งผลต่อโรคซึมเศร้า
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ควรฝังยาคุมกำเนิด ได้แก่
ยังไม่แน่ใจว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่
มีภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
มีประวัติเป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์อยู่ หรือเคยเป็น เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ เป็นต้น
มีประวัติเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งตับ มีตับอักเสบอยู่
มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน
ส่วนผู้ที่มีโรคเหล่านี้ ควรระวังในการใช้ยาฝังคุมกำเนิด แนะนำให้แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจ ได้แก่ มีประวัติการสูบบุหรี่เรื้อรัง (>15 ม้วน/วัน) ในหญิงที่อายุมากกว่า 35 ปี , มีประวัติโรคประจำตัว เช่น ไขมันในโลหิตสูง, ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองอุดตัน, ใส่ลิ้นหัวใจ และมีประวัติเคยตั้งครรภ์นอกมดลูก
"แนะนำให้ผู้ที่ต้องการฝังยาคุมกำเนิด |
และในสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะโรคซึมเศร้า ยังไม่พบว่าเป็นข้อห้ามของการฝังยาคุมกำเนิด หากไม่ได้มีภาวะซึมเศร้ารุนแรงร่วมด้วย
สามารถรับการฝังยาคุมได้ ร่วมกับการตรวจติดตามอาการจากแพทย์อย่างใกล้ชิดสม่ำเสมอ
ยังไม่มีข้อห้ามชัดเจนที่ห้ามไม่ให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฝังยาคุมกำเนิด เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่บ่งบอกว่ายาฝังคุมกำเนิดส่งผลต่อโรคซึมเศร้า แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ช่วยเลือกวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสมที่สุด
ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ต้องทานยาโรคซึมเศร้าอยู่ หรืออาการของโรคซึมเศร้ายังคงที่ หากต้องการฝังยาคุมกำเนิดหรือใช้ยาชนิดใดๆ ก็ตามควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ เพื่อแพทย์จะช่วยพิจารณาเลือกยาที่เหมาะสมให้ได้
ผลข้างเคียงจากการฝังยาคุมขึ้นกับแต่ละบุคคล การฝังยาคุมอาจทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงส่งผลต่ออารมณ์ได้ในบางคน เพราะฉะนั้นในกรณีนี้จึงบอกไม่ได้ว่าการฝังยาคุมจะกระตุ้นให้อารมณ์อ่อนไหวมากขึ้นได้หรือไม่
|
บทความที่น่าสนใจ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
Hot Line 081-562-7722 กดโทรออก
เรียบเรียงโดย แพทย์หญิงวรางคณา วิวัลย์ศิริกุล , แพทย์หญิงสุพิชชา บึงจันทร์
แก้ไขล่าสุด : 15/01/2024